คำราชาศัพท์

youtube                     google                    พ.ส.ว.                    สพม.11

ที่มาของข้อมูล : http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXlOVEV5TURrMU13PT0

คำราชาศัพท์

คำราชาศัพท์  คือ  คำสุภาพที่ใช้ให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคลต่าง ๆ  คำราชาศัพท์เป็นการกำหนดคำ และ ภาษาที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามของไทย  แม้คำราชาศัพท์จะมีโอกาสใช้ในชีวิตน้อย  แต่เป็นสิ่งที่แสดงถึงความละเอียดอ่อนของภาษาไทยที่มีคำหลายรูปหลายเสียงในความหมายเดียวกัน และเป็นลักษณะพิเศษของภาษาไทยโดยเฉพาะ  ซึ่งใช้กับบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

–  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ

–  พระบรมวงศานุวงศ์

–  พระภิกษุสงฆ์ สามเณร

–  ขุนนาง ข้าราชการ

–  สุภาพชน

ภาษาที่ใช้ในคำราชาศัพท์

คำราชาศัพท์ไม่ได้มีที่มาจากภาษาไทยภาษาเดียว  ด้วยว่าการใช้คำราชาศัพท์เป็นการใช้ด้วยความตั้งใจ  จะทำให้เกิดความรู้สึกยกย่อง เทิดทูน  จึงเจาะจงรับคำในภาษาต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไทยมาใช้เป็นพิเศษ  โดยเฉพาะภาษาที่นับถือกันว่าเป็นภาษาสูงและศักดิ์สิทธิ์คำราชาศัพท์ส่วนใหญ่จึงมีที่มาจากภาษาต่างประเทศมากมาย

ตั้งแต่สมัยโบราณมา คนไทยได้ติดต่อกับคนต่างชาติต่างภาษามากมาย ในบรรดาภาษาทั้งหลายเหล่านั้น มีบางภาษาที่เรายกย่องกันว่าเป็นภาษาสูงและศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งก็ได้แก่ ภาษาเขมร บาลี และสันสกฤต นอกจากนี้ภาษาอื่น ๆ ก็นำมาใช้เป็นคำราชาศัพท์บ้าง แต่ก็ไม่มากและสังเกตได้ชัดเจน  อย่างไรก็ตามก็ยังมีคำราชาศัพท์จำนวนไม่น้อยที่ใช้คำภาษาไทยแท้ ซึ่งเป็นคำสามัญยกระดับขึ้นเป็นคำราชาศัพท์   ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าคำราชาศัพท์นั้นมีที่มาจากทั้งภาษาต่างประเทศและภาษาไทยของเราเอง

การสร้างคำราชาศัพท์

๑.  วิธีใช้คำประกอบหน้าคำราชาศัพท์

–  พระบรมราช ใช้ประกอบหน้าคำเพื่อให้เห็นว่าสำคัญยิ่ง ในกรณีที่ต้องการเชิดชูพระราชอำนาจ  เช่น  พระบรมราชโองการ , พระบรมราชชนนี , พระบรมราชูปถัมภ์ ฯลฯ

–  พระบรม ใช้ประกอบหน้าคำเพื่อให้เห็นว่าสำคัญยิ่ง ในกรณีที่ต้องการเชิดชูพระราชอิสริยยศ  เช่น  พระบรมศพ , พระบรมโอรสาธิราช , พระบรมโพธิสมภาร ฯลฯ

–  พระราช ใช้ประกอบหน้าคำเพื่อให้เห็นว่าสำคัญรองมาจาก พระบรม เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นสิ่งเฉพาะขององค์พระเจ้าแผ่นดิน เช่น พระราชอำนาจ , พระราชทรัพย์ ฯลฯ

นอกจากนี้ยังอาจใช้คำอื่น ๆ อีกโดยเรียงตามลำดับความสำคัญได้ดังนี้  คือ  พระบรมอรรคราช , พระบรมมหาราช , พระบรมมหา , พระบรมราช , พระบรม ,พระอัครราช , พระอัคร , พระมหา , พระราช

๒. วิธีใช้คำประกอบหลังคำราชาศัพท์

–  ทรง  ใช้ประกอบหลังคำนาม เพื่อเป็นคำนามราชาศัพท์

–  ต้น ใช้ประกอบหลังคำนามสำคัญทั่วไป เพื่อทำให้เป็นคำนามราชาศัพท์ มักใช้กับสิ่งที่โปรดเป็นพิเศษ

–  หลวง ใช้ประกอบหลังคำนามสามัญทั่วไป เพื่อให้เป็นนามราชาศัพท์

–  พระที่นั่ง ใช้ประกอบหลังคำนามสามัญ เพื่อให้เป็นนามราชาศัพท์ มีความหมายว่าเป็นที่ประทับส่วนพระองค์

ตัวอย่างคำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์

๑.  เกิด  –  ทรงพระราชสมภพ ( พระราชา , พระราชินี , พระบรมราชชนนี , พระยุพราช ,พระบรมราชกุมาร ,

พระบรมราชกุมารี )

–  ประสูติ , สมภพ ( พระราชวงศ์ )

(  ข้อยกเว้น วันเกิด เฉพาะสำหรับ พระเจ้าอยู่หัว , สมเด็จพระราชินี ใช้วันพระบรมราชสมภพ )

๒.  ป่วย –  ทรงพระประชวร ( พระราชา )

–  ประชวร ( เจ้านาย พระราชวงศ์ , พระสังฆราช )

–  อาพาธ ( พระ , เณร )

๓.  ตาย –  สวรรคต ( พระเจ้าอยู่หัว , พระราชินี , พระบรมราชชนนี , พระยุพราช ,พระบรมราชกุมาร , พระบรมราชกุมารี , พระบรมราชวงศ์ที่ได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น )

–  ทิวงคต ( เจ้าฟ้าที่ได้รับเฉลิมพระยศพิเศษ , พระราชาต่างประเทศ )

–  สิ้นพระชนม์ ( สมเด็จเจ้าฟ้า , พระองค์เจ้า , สมเด็จพระสังฆราช )

–  สิ้นชีพิตักษัย , ถึงชีพิตักษัย ( หม่อมเจ้า )

–  ถึงแก่พิราลัย , ถึงพิราลัย ( เจ้าประเทศราช , สมเด็จเจ้าพระยา )

–  ถึงแก่มรณภาพ , มรณภาพ ( พระ , เณร )

–  ถึงแก่อสัญกรรม ( องคมนตรี , ประธานองคมนตรี , รัฐมนตรี , นายกรัฐมนตรี ,ประธานสภา , เจ้าพระยา , ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า , ประธานาธิบดีต่างประเทศ )

–  ถึงแก่อนิจกรรม ( พระยา , ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย / ทุติยจุลจอมเกล้า )

–  ถึงแก่กรรม , สิ้นชีวิต , เสียชีวิต , มรณะ ( สุภาพ )

–  ล้ม ( สัตว์ )

๔.  พูด –  มีพระราชดำรัส , มีกระแสพระราชดำรัส ( พระราชา , พระราชินี , พระยุพราช ,พระบรมราชกุมาร , พระบรมราชกุมารี )

–  รับสั่ง , มีพระดำรัส ( พระราชวงศ์ )

–  ดำรัส , ตรัส ( พระองค์เจ้า , หม่อมเจ้า )

( ข้อยกเว้น ตรัส , รับสั่ง สำหรับ พระราชา , พระราชินี , พระบรมราชกุมาร , พระบรมราชกุมารี ใช้ในกรณีเรื่องธรรมดา )

๕.  คำสอน –  พระบรมราโชวาท ( พระราชา )

–  พระโอวาท ( เจ้านาย พระราชวงศ์ )

๖.  คำสั่ง     –  พระบรมราชโองการ ( พระราชา )

–  พระราชเสาวนีย์ , พระเสาวนีย์ ( พระราชินี , พระราชชนนี )

–  พระราชโองการ ( พระราชาต่างประเทศ )

–  พระราชบัณฑูร ( พระบรมราชกุมาร )

–  พระราชบัญชา ( พระบรมราชกุมารี )

–  พระราชดำรัสสั่ง (พระยุพราช , พระบรมราชกุมาร , พระบรมราชกุมารี ,พระราชวงศ์ )

–  พระประศาสน์ ( สมเด็จเจ้าพระยา )

–  บัญชา ( นายกรัฐมนตรี )

๗.  คำทักทาย –  พระราชปฏิสันถาร ( พระราชา , พระราชินี )

–  พระปฏิสันถาร ( พระราชวงศ์ชั้นสูง )

–  พระดำรัสทักทาย ( พระราชวงศ์ )

๘.  ผลงานแต่ง  –  พระราชนิพนธ์ ( พระราช , พระราชินี , พระยุพราช , พระบรมราชกุมาร ,พระบรมราชกุมารี, พระราชชนก, พระราชชนนี )

–  พระนิพนธ์ ( พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า – พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า )

–  นิพนธ์ ( หม่อมเจ้า )

คำสามัญ

คำราชาศัพท์

ยา

พระโอสถ

กระจก

พระฉาย

ตุ้มหู

พระกุณฑล

ประตู

พระทวาร

ฟูก

พระบรรจถรณ์

ผ้าห่มนอน

ผ้าคลุมบรรทม

น้ำ

พระสุธารส

ช้อน

พระหัตถ์ ช้อน

แว่นตา

ฉลองพระเนตร

น้ำหอม

พระสุคนธ์

แหวน

พระธำมรงค์

หน้าต่าง

พระบัญชร

เตียงนอน

พระแท่นบรรทม

ผ้านุ่ง

พระภูษาทรง

เหล้า

น้ำจัณฑ์

ข้าว

พระกระยาเสวย

หวี

พระสาง

หมวก

พระมาลา

ร่ม

พระกลด

อาวุธ

พระแสง

มุ้ง

พระวิสูตร

ผ้าเช็ดหน้า

ผ้าซับพระพักตร์

ของกิน

เครื่อง

หมาก

พระศรี

01

ใส่ความเห็น